LEGAL INTELLIGENCE

Attorneys At Law

บริษัท ลีกัล อินเทลลิเจนซ์ จำกัด เป็นสำนักงานทนายความของคนรุ่นใหม่ซึ่งมีความหลากหลาย มีประสบการณ์ โดยได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เมื่อปีพ.ศ.2546 ซึ่งมีดร.มนต์ชัย จงไกรรัตนกุล ใบอนุญาตว่าความเลขที่ 586/2538 เป็นหัวหน้าสำนักงานและเป็นกรรมการผู้จัดการได้รวมตัวนักกฎหมาย/ทนายความที่มากด้วยประสบการณ์และมีความถนัดแตกต่างกัน แต่ที่สำคัญล้วนมีอุดมการณ์และทัศนคติเดียวกัน บริษัทจึงสามารถให้บริการด้านกฎหมายและคดีความในทุกประเภท

เน้นที่การแก้ปัญหาให้คุณ

เกี่ยวกับกรณีปัญหาคดีความต่างๆหรือเรื่องหารือใดๆนั้น สำนักงานจะทำงานกันเป็นทีม โดยทีมทนายจะประชุมถกเถียงอยู่บนเหตุและผลขององค์ประกอบกฎหมาย  จะนำข้อมูลของคุณไปวิเคราะห์สังเคราะห์ พร้อมกับคำพิพากษาฎีกาหรือแนวคำวินิจฉัยในคดีต่างๆ เพื่อให้คุณได้รับคำตอบที่ดีที่สุด ตรงกับปัญหาที่คุณมีอยู่

 

ขอบเขตการให้บริการ

ด้านอรรถคดี
ให้บริการในด้านดังกล่าวอย่างครบวงจร นับแต่การติดตามทวงถาม และเร่งรัดหนี้ด้วยวิธีการเจรจากับลูกหนี้
การบังคับคดี
ให้บริการเกี่ยวกับการบังคับคดีทุกประเภท การบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล การยึดทรัพย์ และการขายทอดตลาดทรัพย์สิน เป็นต้น
ด้านการทำบัญชี
จัดทำงบการเงิน และวางแผนภาษี
ด้านอรรถคดี
ให้บริการในด้านดังกล่าวอย่างครบวงจร นับแต่การติดตามทวงถาม และเร่งรัดหนี้ด้วยวิธีการเจรจากับลูกหนี้

ผลงานของเรา

งานที่ปรึกษา
คดีแพ่ง
คดีอาญา
คดีชำนัญพิเศษ

ตลอดระยะเวลาร่วม 30 ปี บริษัทได้ให้บริการด้านคดีความและด้านที่ปรึกษากฎหมายหลายบริษัททั้งภาครัฐและเอกชน ดังนี้

งานที่ปรึกษากฎหมาย

  • บริษัท เอคิวเอสเตท จำกัด(มหาชน)
  • บริษัท กำแพงเพชรวิวัฒน์ จำกัด และบริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการรับเหมาก่อสร้าง ทั้งจากเอกชนละหน่วยงานราชการ
  • บริษัท ทิพากร จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างให้กับหน่วยงานของราชการหลายโครงการ
  • ที่ปรึกษากฎหมายกิจการร่วมค้า เอเอส-ช.ทวีแลนด์แอสโซซิเอทส์ 
  • ที่ปรึกษากฎหมายบริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่
  • บริษัท วัฒนชัยรับเบอร์เมท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตถุงมือยาง
  • บริษัท 113 จำกัด บริษัทของคุณวินทร์ เลียววาริณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2556, รางวัลซีไรต์ ปี 2540 และ 2542
  • บริษัท เค.ดี.เอส.(1998)จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดจำหน่ายอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์สร้างบ้าน
  • ที่ปรึกษากฎหมายบริษัท เพมโก้ อินเตอร์ไลท์ จำกัด จำหน่ายอุปกรณ์โคมไฟฯ ในนาม Lamtitude 
  • ที่ปรึกษากฎหมาย  บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)
  • คุณฑิฆัมพร(เชียร์) ฤทธิ์ธาอภินันท์ และ บริษัท ชาร์มมิ่งเวิลด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ ชาเม่ (CHAME’)
  • คุณฉัตรปวีณ์(ซี) ตรีชัชวาลวงศ์ เจ้าของช่อง YouTube: Cee mee Again
  • อาจารย์พิเศษ/ที่ปรึกษากฎหมาย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ที่ปรึกษากฎหมายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อาจารย์พิเศษบรรยายหลักสูตรอบรมฯ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • โรงเรียนนานาชาติ เวลลิงตันคอลเลจกรุงเทพ
  • โรงเรียนนานาชาติแอสคอต
  • สำนักข่าวออนไลน์ THE STANDARD
  • กลุ่มบริษัทในเครือไทยซัมมิท กรุ๊ป
  • ที่ปรึกษาคณะทำงานศูนย์เสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร กรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI)
  • กรรมการอำนวยการสำนักอบรมวิชาว่าความสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ 
  • รองประธานคณะกรรมการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ที่ปรึกษาคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนด้านกฎหมาย สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์
  • คณะทำงานด้านคดีความสิ่งแวดล้อม สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์
  • พ.ศ. 2563 ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการประกอบธุรกิจออนไลน์และการทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ สภาผู้แทนราษฎร
  • พ.ศ. 2563 ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการร่างกฎหมายคุ้มครองพยาน วุฒิสภา
  • พ.ศ. 2559-2561 ที่ปรึกษากฎหมายให้กับบริษัท บ้านริก จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับอุปกรณ์เอฟเฟกต์ที่ใช้ในการแสดงการถ่ายทำละคร และละครเวทีต่าง ๆ
  • พ.ศ. 2554-2560 ที่ปรึกษากฎหมายบริษัทในกลุ่มทีทีซีน้ำสยาม และในเครือเบนซ์ TTC
  • พ.ศ. 2558-2560 ที่ปรึกษากฎหมายกลุ่มบริษัทในเครือ ทีบีเอ็นพร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งบริหารศูนย์การค้า PASEO และร้านจำหน่ายรถยนต์ TOYOTA
  • พ.ศ. 2557-2560 ที่ปรึกษาด้านกฎหมายและธรรมาภิบาลของศูนย์ปฏิบัติการตำรวจชายแดนภาคใต้(ศชต.)

การดำเนินคดีแพ่ง

คดีแพ่งนั้นเป็นคดีที่มีการโต้แย้งสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่ง อาทิ คดีผิดสัญญาต่าง ๆ (สัญญากู้ยืมเงิน, สัญญาเช่าซื้อ, สัญญาเช่าทรัพย์, สัญญาจำนอง ฯลฯ) หรือการฟ้องเป็นคดีละเมิด เรียกให้ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าเสียหายและค่าสินไหมทดแทน นอกจากนี้ยังรวมถึงกรณีที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลใช้สิทธิในทางศาลเพื่อรับรองคุ้มครองสิทธิของตน เช่น คดีร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยการครอบครองปรปักษ์ ซึ่งถือเป็นคดีไม่ข้อพิพาท เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปวัตถุประสงค์ในการฟ้องเป็นคดีแพ่งจะมุ่งให้จำเลยชำระเงิน มิใช่มุ่งให้จำเลยต้องถูกลงโทษดังเช่นคดีอาญา โดยในการดำเนินคดีแพ่งนั้นศาลจะดูที่พยานเอกสารเป็นสำคัญซึ่งจะแตกต่างจากการดำเนินคดีอาญา

โดยบริษัทได้ให้บริการในการดำเนินคดีแพ่งครบทั้งกระบวนการ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกคือการฟ้องร้องเป็นคดี โดยจะดำเนินการตั้งแต่ขั้นตอนการส่งหนังสือทวงถาม(Notice) ยื่นฟ้องต่อศาล ดำเนินกระบวนพิจารณา(ไกล่เกลี่ยหรือสืบพยาน) จนกระทั่งศาลมีคำพากษาและออกหมายบังคับคดี ไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือบังคับคดี โดยจะดำเนินการตั้งแต่ขั้นตอนการสืบทรัพย์ ตั้งเรื่องยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ขายทอดตลาด หรือดำเนินการขับไล่ลูกหนี้และบริวาร ไปจนถึงการออกหมายจับลูกหนี้และบริวารที่ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาบริษัทได้รับว่าความให้กับบุคคลและนิติบุคคลต่าง ๆ (บริษัท,ห้างหุ้นส่วนจำกัด, นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ฯลฯ) ซึ่งเป็นคู่ความในคดีแพ่งทั้งที่เป็นฝ่ายโจทก์ และเป็นฝ่ายจำเลย นอกจากนี้บริษัทยังรับว่าความให้กับธนาคาร สถาบันการเงิน บริษัทบริหารสินทรัพย์ รวมไปถึงกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) อีกด้วย ซึ่งในส่วนของธนาคารและสถาบันการเงินจะเป็นคดีเกี่ยวกับ สินเชื่อส่วนบุคคล ผิดสัญญากูยืมเงิน ผิดสัญญาจำนอง และคดีขับไล่ลูกหนี้และบริวารออกจากทรัพย์พิพาท เป็นต้น

โดยบริษัทขอนำเสนอคดีแพ่งที่บริษัทได้รับเป็นทนายความให้ พอสังเขปดังนี้

การดำเนินคดีอาญา

คดีอาญาคือ คดีที่ฟ้องร้องกันเนื่องจากมีการกระทำความผิดทางอาญา หรือที่พูดกันง่ายๆ ว่า ฟ้องร้องเพื่อให้อีกฝ่ายติดคุก หรือรับโทษอื่น ๆ ในทางอาญา เช่น ให้ปรับ ให้ประหารชีวิต เช่น คดีทำร้ายร่างกาย คดีลักทรัพย์ คดีชิงทรัพย์ คดีปล้นทรัพย์ คดีฆ่าคนตาย คดีประมาททำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต คดีรับของโจร เป็นต้น ซึ่งโทษทางอาญามีอยู่ 5 ประการคือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน

โดยคดีอาญาแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

(1) คดีอาญาที่ยอมความไม่ได้หรือคดีอาญาแผ่นดิน เช่น คดีลักทรัพย์ คดีฉ้อโกงประชาชน เป็นต้น
(2) คดีอาญาที่ยอมความได้หรือคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว เช่น คดียักยอกทรัพย์ คดีฉ้อโกง เป็นต้น
ซึ่งการฟ้องร้องเป็นคดีอาญา เมื่อมีการกระทำความผิดทางอาญาเกิดขึ้นสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1.แจ้งความร้องทุกข์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
2.จ้างทนายความฟ้องร้องเอง

กรณีแรก : เมื่อมีการทำความผิดเกิดขึ้น จะมีการแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจทำการสอบปากคำและจัดทำสำนวนเสร็จแล้ว จะมีความเห็นว่าควรส่งฟ้องหรือไม่ และมีการเสนอสำนวนไปยัง พนักงานอัยการเมื่อพนักงานอัยการตรวจดูสำนวนแล้ว ถ้ามีความเห็นควรส่งฟ้อง ก็จะดำเนินการฟ้องคดีอาญา เพื่อให้จำเลยได้รับโทษต่อไป

กรณีที่สอง : เมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ผู้เสียหายจะจ้างทนายความเพื่อฟ้องร้องคดีเอง โดยจะมีการแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือไม่ก็ได้ หรือกรณีที่ผู้เสียหายเห็นว่า คดีจะไม่ได้รับความเป็นธรรมในชั้นตำรวจ เนื่องจากผู้กระทำความผิดมีการวิ่งเต้น หรือมีอิทธิพล หรืออาจเป็นคดีเล็กน้อย เช่น คดีตั๋วเงิน (เช็ค) ซึ่งถ้าแจ้งความแล้วจะล่าช้ากว่าการจ้างทนายความฟ้องร้องคดีเอง

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาบริษัทได้รับว่าความให้คู่ความทั้งที่เป็นโจทก์เอง เป็นโจทก์ร่วม หรือเป็นจำเลยในคดีอาญามากมาย ซึ่งในการดำเนินคดีอาญานั้นศาลจะรับฟังพยานบุคคลเป็นสำคัญ ซึ่งตากจากคดีแพ่งที่ศาลจะดูพยานเอกสารเป็นสำคัญ โดยบริษัทขอนำเสนอคดีอาญาบางส่วนที่บริษัทได้รับว่าความให้กับลูกความทั้งที่เป็นบุคคลและนิติบุคคล พอสังเขปดังนี้

การดำเนินคดีชำนัญพิเศษ

เป็นคดีที่มีการดำเนินกระบวนพิจารณาต่างจากคดีแพ่งหรือคดีอาญาทั่วไป โดยศาลจะใช้วิธีพิจารณาความพิเศษตามแต่ละประเภทคดี ซึ่งจะต้องใช้ทนายความที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ โดยเฉพาะเป็นการเจาะจง

โดยคดีที่อยู่ในกลุ่มคดีชำนัญพิเศษนี้จะมีศาลชำนัญพิเศษเพื่อรับดำเนินคดีโดยเฉพาะ เช่น คดีเกี่ยวกับเด็ก, เยาวชนและครอบครัวจะต้องขึ้นศาลเยาวชนและครอบครัว คดีเกี่ยวกับนายจ้างและลูกจ้างจะต้องขึ้นศาลแรงงาน คดีเกี่ยวกับภาษีอากรจะต้องขึ้นศาลภาษีอากร คดีเกี่ยวกับการล้มละลายจะต้องขึ้นศาลล้มละลาย และคดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และการค้าระหว่างประเทศจะต้องขึ้นศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น

ซึ่งบริษัทก็ได้รับว่าความให้กับคู่ความที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับคดีประเภทนี้เช่นกัน โดยบริษัทเองมีทนายความหลายท่านที่มีทั้งความรู้และประสบการณ์ในแต่ละด้านเป็นการเฉพาะทาง ในการดำเนินคดีชำนัญพิเศษที่มีลักษณะเฉพาะ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อคู่ความที่บริษัทรับดำเนินคดีให้ โดยจะขอนำเสนอตัวอย่างคดีที่บริษัทเคยรับเป็นทนายความให้ทั้งที่เป็นฝ่ายโจทก์ และฝ่ายจำเลย พอสังเขปดังนี้

  • – ฎีกาที่น่าสนใจ –

    การแบ่งมรดกที่มีคู่สมรส

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3296/2563 (หน้า 36 เล่ม 12) โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของพันเอก ก. จำเลยยังมิได้แบ่งปันมรดกของพันเอก ก.ให้แก่โจทก์และน้องๆ และจนถึงบัดนี้จำเลยก็ยังจัดการมรดกของพันเอก ก.ไม่แล้วเสร็จ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยจึงถูกกำจัดมิให้รับทรัพย์มรดกของพันเอก ก. และมีคำขอท้ายฟ้องโดยขอให้จำเลยจดทะเบียนโอนแบ่งมรดกให้โจทก์ 1 ใน 7 ส่วน และให้กำจัดจำเลยไม่ให้ได้รับทรัพย์มรดกของพันเอก ก. กรณีจึงมิใช่เป็นการฟ้องจำเลยในฐานะที่เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาททั้งหกแปลงอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์โดยจำเลยไม่มีสิทธิ์ที่จะยึดหรือครอบครองไว้ แต่เป็นการฟ้องจำเลยเพื่อขอแบ่งทรัพย์มรดกของพันเอก ก.ให้แก่โจทก์โดยตรง คดีย่อมตกอยู่ในบังคับแห่งอายุความมรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง แต่บทบัญญัติดังกล่าวมีข้อยกเว้นตามมาตรา 1748 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ทายาทคนใดครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปัน ทายาทคนนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 แล้วก็ดี
    พันเอก ก.และ ฐ.จดทะเบียนสมรสกัน หลังจากนั้นมีการซื้อที่ดินร่วมกันโดยใส่ชื่อของ ฐ.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในที่ดินทุกแปลงที่ร่วมกันซื้อมาร่วมถึงที่ดินพิพาททั้งหกแปลงในคดีนี้ด้วย ที่ดินพิพาททั้งหกแปลงที่ร่วมกันซื้อมาจึงเป็นสินสมรส ต่อมาพันเอก ก.ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาททั้งหกแปลงจึงต้องแบ่งแก่ ฐ.กึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1625(1) อีกกึ่งหนี่งเป็นมรดกของพันเอก ก.ตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม คือ ฐ.ในฐานะคู่สมรสและบุตรอีก 6 คน ที่มีโจทก์และจำเลยรวมอยู่ด้วยคนละ 1 ใน 7 ส่วน เท่าๆ กัน ตามมาตรา 1629(1) และวรรคท้าย ประกอบมาตรา 1635(1) แต่ก่อนพันเอก ก.แก่ความตาย ฐ.จดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 14765, 14767 และ 113348 ให้แก่โจทก์ หลังพันเอก ก.ถึงแก่ความตาย ฐ.จดทะเบียนให้โจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมกับ ฐ.คนละกึ่งหนึ่งในที่ดินโฉนดเลขที่ 14766 และ 7043 โดยโจทก์ไม่มีการโต้แย้งว่ามีส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของพันเอก ก. กับไม่มีการเรียกร้องให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของพันเอก ก.ดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาท กลับยอมรับในการใช้สิทธิโดยเด็ดขาดตามอำเภอใจของ ฐ.แต่ฝ่ายเดียว พฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่า ฐ.ครอบครองที่ดินทั้งหกแปลงดังกล่าวในฐานะผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว หาใช่เป็นการครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่นไม่ ฐ.ซึ่งไม่ใช่ผู้จัดการมรดกไม่จำต้องแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์หรือทายาทอื่นว่า ไม่มีเจตนาจะยึดถือทรัพย์มรดกแทนอีกต่อไป และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาททั้งหกแปลงดังกล่าวอยู่ด้วย ที่ดินพิพาททั้งหกแปลงจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของ ฐ.แต่เพียงผู้เดียว ฐ.ย่อมมีสิทธิยกที่พิพาททั้งหกแปลงซึ่งรวมส่วนที่เป็นมรดกของพันเอก ก.ด้วยให้แก่จำเลย จำเลยในฐานะส่วนตัวย่อมรับมาซึ่งสิทธิที่ ฐ.มีอยู่และชอบที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ในฐานะผู้สืบสิทธิของ ฐ.ตามมาตรา 1755 กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 1748 วรรคหนึ่ง คดีย่อมตกอยู่ในบังคับแห่งอายุความมรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง และวรรคท้าย โจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่พันเอก ก.ถึงแก่ความตายหรือโจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตาย ทั้งยังเกินกำหนดสิบปีนับแต่พันเอก ก.ถึงแก่ความตายอีกด้วย คดีโจทก์จึงขาดอายุความ 

ข่าวสาร / บทความ

บทความ

28 พ.ย. 2024

บทความ

28 พ.ย. 2024

บทความ

25 พ.ย. 2024

บทความ

29 ก.ย. 2023

ดร.มนต์ชัย จงไกรรัตนกุล
นบ.,นม.,นบท.,LLD

ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ/หัวหน้าสำนักงาน

ใบอนุญาตว่าความตลอดชีพ เลขที่ 586/2538

ประวัติการศึกษาและการฝึกอบรม

  • 2562 เป็นผู้สอบไล่ได้ความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา สมัยที่ 72
  • 2561 ได้รับการฝึกอบรมหลักสูตร “การกำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมายในตลาดเงินทุน” รุ่นที่ 3 ศูนย์บริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2560 ผ่านการอบรมหลักสูตร ทนายความที่ปรึกษานิติบุคคล รุ่นที่ 1 ศูนย์วิชาการคณะเดชอุดม ไกรฤทธิ์
  • 2559 ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร “กฎหมายการประกอบธุรกิจกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ของศูนย์บริการวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2557 นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • 2555 ผ่านการอบรมโครงการภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมายชั้นสูง มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • 2549 ผ่านการอบรมเป็นกรรมการสอบสวนคดีมรรยาททนายความ คณะกรรมการมรรยาททนายความ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์
  • 2549 สำเร็จการฝึกอบรมตามหลักสูตร “นักบริหารกิจการยุติ : การยุติธรรมทางแพ่งและพาณิชย์ สถาบันพัฒนาบุคลากรใน  กระบวนการยุติธรรมสำนักงานกิจการยุติธรรม”
  • 2546 นิติศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายธุรกิจ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • 2538 สอบผ่านหลักสูตร “วิชาว่าความของสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ รุ่นที่ 10” แห่งสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์
  • 2534 นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ทีมของเรา

ดร.มนต์ชัย จงไกรรัตนกุล
นบ.,นม.,นบท.,LLD

ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ/หัวหน้าสำนักงาน

ใบอนุญาตว่าความตลอดชีพ เลขที่ 586/2538

โทรศัพท์ 02-047-4559

ทีมของเรา